tt ads

มลพิษคือ ความสกปรก กาก ตะกอน หรือมวลสารและวัตถุที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ดังนั้น Air pollution หรือ มลพิษทางอากาศหมายถึง การเกิดสภาวะทางอากาศมีสิ่งสกปรกหรือสารพิษเจือปนในอากาศเกินมาตรฐาน ทำให้อากาศอยู่ในขั้นวิกฤติ ตัวอย่างมลพิษทางอากาศ เช่น มลภาวะทางอากาศฝุ่นpm 2.5 ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์(CO) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมไปถึงวัตถุอันตรายอื่นๆในชั้นบรรยากาศโลก ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต จนทำให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยและอันตรายต่อชีวิตได้ 

สาเหตุการเกิดมลพิษทางอากาศคืออะไร?

โดยมลพิษทางอากาศเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของครัวเรือน มลพิษทางอากาศจากรถยนต์ สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การเผาไหม้ขยะมูลฝอย มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม มลพิษที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น การเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีจากการเน่าเปื่อยของสสารอินทรีย์ทำให้เกิดก๊าซมีเทน แอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น อีกทั้งควันพิษทางอากาศเกิดจากไฟป่า หรือ ภูเขาไฟระเบิด อย่างที่เกาะลา ปาลมา ประเทศสเปนที่นอกจากสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินบริเวณใกล้เคียงยังเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

 

มลพิษทางอากาศมีกี่ประเภท?

ไม่ว่ามลพิษทางอากาศpptและมลพิษทางอากาศpdf การเกิดมลพิษทางอากาศมี 2 ประเภทมลพิษทางอากาศภายนอกและมลพิษอากาศภายใน 

 

มลพิษทางอากาศภายนอก ได้แก่ 

  • มลพิษจากสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร เช่น น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น 
  • แก๊สที่ทําให้เกิดมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซมีเทน ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์
  • โอโซนระดับพื้นดิน ปกติโอโซนจะก๊าซที่ดีมากถ้าเกิดในที่สูง จะช่วยปกป้องรังสียูวีและรังสีอันตรายต่างๆ ไม่ให้ลงมายังโลก แต่จะอันตรายอย่างมากถ้าเกิดในที่ต่ำ  เมื่อเราสูดหายใจเข้าไป จะทำให้เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนที่รุนแรง ซึ่งจะสร้างความเสียหายกับเยื่อเมือกและเนื้อเยื่อทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิต ทั้ง คน สัตว์ และพืชต่างๆ เรียกได้ว่า โอโซนจะดีเมื่ออยู่สูง แต่เลวร้ายเมื่ออยู่ต่ำ 

 

มลพิษทางอากาศภายใน ได้แก่ 

  • ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของแก๊สหุงต้ม อย่าง คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น 
  • สารก่อภูมิแพ้จากชีวภาพ สัตว์ และสิ่งของ เช่น ฝุ่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา แมลงสาบ หนู เป็นต้น

 

มลพิษทางอากาศมีผลกระทบกับสุขภาพอย่างไร?

ฝุ่นละอองที่เป็นปัญหาหลักในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากสภาพการจราจรที่คับคั่ง มีการเผาไหม้ของยานหนะ ที่เรียกได้ว่าเป็นมลพิษทางอากาศที่เกิดจากมนุษย์ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน ที่สามารถเล็ดลอดระบบทางเดินหายใจ เข้าสู่ร่างกายคนเราไปสู่ปอดและถุงลม ทำให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง เกิดการอักเสบ และยิ่งเป็นฝุ่นละอองที่เกิดจากก๊าซบางชนิด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก็ยิ่งมีอันตรายต่อดวงตา ผิวหนัง และ ระบบทางเดินหายใจ 

มลพิษทางอากาศได้แก่แก๊สอะไรบ้าง?

  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่มีฤทธิ์กัดกร่อน จะทำให้มีการระคายเคืองกับผิวหนัง เยื่อบุในตา เมื่อทำการสูดดมก๊าซซัลเฟอร์เข้าไป จะละลายของเหลวในระบบทางเดินหายใจ เกิดกรดซัลฟิวริก ส่งผลกระทบกับระบบภายในร่างกาย หากได้รับเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 
  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไป จะส่งผลต่อการถ่ายเทออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆลดลง ทำให้เลือดขาดออกซิเจน และถ้ารับคาร์บอนฯจำนวนมาก จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 
  • ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน มีผลกระทบการมองเห็น ผู้ที่มีอาการทางโรคหัวใจ และหอบหืด เมื่อผู้ที่มีอาการดังกล่าว ทำการหายใจก๊าซนี้เข้าไป จะทำให้อาการกำเริบได้ 
  • ก๊าซโอโซน มีฤทธิ์กัดกร่อนต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ระคายเคืองตา การอักเสบของเนื้อเยื่อจมูกและปอด ทำให้ความสามารถของปอดในการรับก๊าซออกซิเจนลดลง ทำให้มีอาการเหนื่อยง่ายและเร็วในคนชรา เป็นโรคหืด โดยเฉพาะในเด็ก ผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรังและหอบหืดจะมีอาการกำเริบได้ง่ายและบ่อยมากขึ้น

มลพิษอากาศเป็นพันธมิตรกับโควิดได้อย่างไร? 

เมื่อไม่นานมานี้กรมมลพิษทางอากาศได้ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค ร่วมเปิดสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยอัตโนมัติ เนื่องจากมลพิษต่างๆทางอากาศส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งมีผลให้อาการผู้ป่วยโควิดหนักขึ้นและอาจเร่งให้ให้เกิดการแพร่เชื้อได้เพิ่มขึ้น สรุปมลพิษทางอากาศเป็นพาหนะของเชื้อโควิด-19 ให้ไปสู่คนอื่นและกระจายเป็นวงกว้างได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง 

 

แม้ว่าตะไม่มีการยืนยันว่ามลพิษทางอากาศนี้จะเกี่ยวเนื่องกับโควิด-19 อย่างไร แต่จากรายงานมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ที่มีการร่วมมือกันในหลายภาคส่วน เพื่อศึกษาเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างมลพิษอากาศจากควันไฟป่ากับโควิด โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจาก 92 เขตในรัฐแคลิฟอร์เนีย วอชิงตัน และโอเรกอน ที่มักจะเกิดไฟป่า เป็นมลพิษทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (ที่เป็นสารตั้งต้นของPM2.5) ฝุ่นPM2.5 และ ฝุ่นPM10 ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ธันวาคม ปี 2020 ซึ่งใน 3 รัฐนี้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 2 หมื่นคน ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตก็มีจำนวนมากเช่นกัน 

 

เนื่องจากควันไฟป่าจะทำให้มีการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? นั่นเป็นเพราะสารพิษทางอากาศในควันไฟป่าที่ประกอบไปด้วย  

 

  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างน้ำมัน ถ่านหิน ซึ่งมีอันตรายต่อปอดเป็นอย่างมาก และยังเป็นสารตั้งต้นของฝุ่นPM2.5 เพราะเป็นตัวตั้งต้นก็ย่อมแน่นอนว่าต้องมีความน่ากลัวกว่าฝุ่นPM2.5 เข้าไปอีก 
  • มลพิษทางอากาศpm2 5 เป็นฝุ่นจิ๋วที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน สามารถเล็ดลอดจากขนจมูกมุ่งตรงไปสู่ปอดได้ และมีอันตรายต่อชีวิตมากกว่าที่คิด 
  • ฝุ่นPM10 ฝุ่นที่มีอานุภาคเล็กกว่า 10 ไมครอน เล็กจนขนจมูกก็ยังไม่สามารถกรองได้ ทำให้หลุดรอดเข้าไปทำอันตรายต่อปอดได้ 

 

และด้วยคุณสมบัติของสารมลพิษในอากาศ ที่สามารถเล็ดลอดเข้าไปสู่ปอดได้อย่างง่ายดาย จึงเป็นยานพาหนะอย่างดีให้กับเชื้อโควิด-19 ไปสู่ปอด ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยโควิดอยู่แล้วและได้มีการสูดหายใจควันไฟป่าเข้าไปจะทำให้อาการทรุดหนักลงไปอีก รวมไปถึงการที่เชื้อโควิดอาศัยมลพิษทางอากาศรอบตัว ไม่ว่าจะเป็น มลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ มลพิษทางอากาศจากโรงงาน มลพิษทางความร้อน แล้วเกาะกลุ่มกับมลภาวะต่างๆ เช่น เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย เพื่อให้เป็นพาหนะเข้าสู่ร่างกายเราและแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว 

 

และเมื่อเรารู้ว่าการเกิดมลพิษทางอากาศเป็นพันธมิตรอย่างดีของเชื้อโควิด ร่วมมือกันเปลี่ยนโลกให้เป็นโรค เราจึงต้องหันมาหาวิธีการบําบัดมลพิษทางอากาศ และใส่ใจดูแลคุณภาพอากาศกันอย่างจริงจังมากขึ้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องหันมาร่วมมือกัน ถึงเวลาแล้วหรือยังเพื่อสุขภาพของเราทุกคน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะรักโลกนี้ให้มากขึ้น เพราะถ้าคิดว่ายังไม่ถึงเวลา…ก็อาจถึงเวลาที่โลกจะไม่รักเราเช่นกัน

 

tt ads