tt ads

เดี๋ยวนี้ใครๆก็อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ เป็นเจ้าของกิจการ และเป็นนักธุรกิจ แน่นอนว่าการเป็นเจ้าของแบรนด์เดี๋ยวนี้ไม่ได้ยากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว และการลงทุนก็ไม่ได้สูงอย่างเมื่อก่อน สามารถลงทุนเล็กๆ เริ่มจากการทำแบรนด์สบู่ในหลักพันบาทก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณเมื่อเป็นแบรนด์ติดตลาดแล้วก็ยังได้ แต่ก่อนจะเริ่มทำแบรนด์ จะต้องทำเตรียมอะไรบ้างและมีขั้นตอนอย่างไร เราไปรู้กันเลย ….

1.งบประมาณที่จะลงทุน 

อันดับแรกคือต้องมีเงินทุน อย่านำเงินที่ใช้ในแต่ละเดือนมาใช้ในการลงทุน แต่ให้ใช้เงินเก็บที่ไว้สำหรับการลงทุนผลิตเท่านั้น ถ้ามีงบการผลิต100% ต้องแบ่งเป็นสัดส่วนสำหรับการผลิต 30% และสำหรับการตลาด 70% ถ้ามีการแบ่งสัดส่วนได้ชัดเจน จะทำให้มองเห็นภาพรวมและการจัดการงบได้ง่ายขึ้น เป็นสัดส่วน ชัดเจน หากการเงินสะดุดจะได้รู้ว่ามาจากจุดไหน จะไปต่อได้แค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการจัดการงบประมาณด้วย เพราะบางกรณีสินค้าได้รับการตอบรับดี สินค้าขายดี ลูกค้าต้องการเพิ่ม แต่เงินทุนหมด ไม่สามารถทำการผลิตเพิ่ม หรือมีสินค้าล็อตใหญ่ แต่เงินทุนการเจาะตลาด การโฆษณาไม่พอ ก็ปิดกั้นช่องทางระบายสินค้า ทำให้ขายสินค้าไม่ได้ สินค้าค้างสต็อค 

 

2.เลือกประเภทสบู่ที่จะผลิตเป็นแบรนด์ขาย 

โรงงานรับผลิตสบู่ส่วนใหญ่จะมี 2 สูตรใหญ่ๆคือ สบู่สูตรสำเร็จ และ สบู่พัฒนาสูตรเฉพาะ คือ สูตรที่พัฒนาขึ้นตามต้องการ สูตรสำเร็จจะเป็นสูตรที่โรงงานพัฒนาไว้อยู่แล้ว จะมีให้ลูกค้าได้ทดสอบ โดยมีลิสรายการต่างๆให้เลือก หากลูกค้าชอบก็สามารถสั่งผลิตเพื่อทำแบรนด์ได้เลย และสบู่พัฒนาสูตรเป็นสบู่ที่ผลิตขึ้นจากการวิจัยและพัฒนาสูตรตามที่ผู้ที่ต้องการทําสบู่แบรนด์ตัวเองกำหนด เช่น สี กลิ่น รูปลักษณ์ สรรพคุณ ซึ่งแน่นอนว่าระยะเวลาและราคาตั้งต้นในการลงทุนย่อมต่างกัน 

 

สบู่พัฒนาสูตรจะใช้ระยะเวลาในการผลิตนานกว่า และต้นทุนการผลิตก็สูงกว่า เพราะต้องมีการวิจัยขึ้นมาใหม่หมด ทั้งวัตถุดิบ องค์ประกอบ การทดสอบ ฯลฯ  เมื่อลูกค้าแจ้งสูตรสบู่ที่ต้องการ ผู้รับผลิตก็จะนำไปประชุมและให้ฝ่าย R&D วิจัยและพัฒนาตามที่ลูกค้าต้องการ หลังจากวิจัยและพัฒนาสูตรแล้ว R&D จะให้สูตรที่ได้กับลูกค้าเพื่อทำการเทส โดยสามารถเทสได้ประมาณ 3 รอบ หากเทสแล้วยังไม่พอใจ สามารถพัฒนาสูตรได้เรื่อยๆในระหว่าง 3 รอบนี้หรือตามจำนวนครั้งที่ทางโรงงานกำหนด เพราะในการพัฒนาและปรับสูตรจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม หลายๆโรงงานจะกำหนดจำนวนครั้งที่ปรับสูตรและเทส 

ในการเลือกสารสกัด คนที่อยากทำแบรนด์สบู่บางคนอาจมีสูตรหรือสารสกัดบางตัวที่ต้องการอยู่แล้ว แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าต้องใช้อะไรดี ทางโรงงานจะมีทีมงานที่คอยให้คำแนะนำอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลตรงจุดนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสูตรสารสกัดหลักๆมาให้เลือก โดยให้ลูกค้าเลือกส่วนสารสกัดเพียงบางส่วน อาจ 45 อย่างจากทั้งหมด แล้วทางโรงงานก็จะเลือกส่วนประกอบอื่นๆที่จะช่วยบำรุงหรือทำให้สบู่มีประสิทธิภาพอย่างที่ลูกค้าต้องการจนครบองค์ประกอบทั้งหมดของสูตรนั้นๆ

 

เมื่อเลือกสูตรได้แล้วก็จะทำการเลือก ขนาด โดยทางโรงงานจะมีหลายขนาดให้ลูกค้าได้เลือก ตั้งแต่ขนาดเล็ก 25 กรัม  30 กรัม  50 กรัม 70 กรัม 100 กรัม ต่อไปก็จะเป็นการเลือก รูปทรงสบู่ โรงงานจะมีรูปทรงให้เลือกหลากหลาย แต่ถ้าลูกค้ามีทรง-ขนาด หรือฟร้อนท์บนสบู่ที่ต้องการอยู่แล้วที่โรงงานไม่มี โรงงานอาจรับทำให้แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะจะต้องทำบล็อก ทำตัวปั๊มขึ้นมาใหม่ตามออเดอร์ลูกค้า สี การเลือกเฉดสี เช่น สีฟ้า สีฟ้าอ่อน สีฟ้าเข้ม  กลิ่น  อุปกรณ์เพิ่ม เช่น ถุงตาข่ายเพิ่มฟอง 

การเลือกจดอย. ให้โรงงานแจ้งจดอย.ให้ จะมีค่าใช้จ่ายตรงนี้ด้วย ซึ่งการให้โรงงานแจ้งจดอย.ให้จะมีโอกาสผ่านได้สูงกว่าการแจ้งจดด้วยตัวบุคคลที่เราแจ้งเอง 

 

การเลือกแพ็กเกจจิ้ง ในกรณีที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจหรืออาจมีงบที่ยังไม่มาก อาจเลือกการใช้สติ๊กเกอร์แปะหน้า หรือเพิ่มราคาอีกหน่อยเพื่อทำเป็นกล่อง โรงงานจะมีการออกแบบให้โดยฝ่ายดีไซน์ เพียงลูกค้าแจ้งลักษณะที่ต้องการ หรือสามารถออกแบบเองแล้วให้ฝ่ายโรงงานทำตามแบบก็ได้ โดยพยายามเลือกออกแบบให้ตรงกับเป้าหมายลูกค้า อย่างทำสบู่เด็กก็ออกแบบที่น่ารัก ทำสบู่ผิวหน้าก็อาจเน้นรูปสารสกัดที่ช่วยเรื่องผิวหน้า ค่าใช้จ่ายก็ผันตามละเอียดดีเทล เช่น ค่าโลโก้ 

 

ระหว่างรอขั้นตอนการผลิตสบู่ วางแผนการตลาดจะทำการตลาดที่ไหน อย่างไร ช่องทางไหน ราคาโปรโมชั่นเปิดตัว กรณีต้องการตัวแทนขายสบู่ ให้คำนวณเรทราคาต้นทุนต่อก้อนหรือต่อชิ้นก่อน เมื่อรู้เรทราคาต่อก้อน ก็คิดค่าเรทราคาตัวแทน 

 

วางแผนการสั่งออเดอร์ซ้ำ เมื่อจำหน่ายแล้วสินค้าเหลือประมาณ 30% ก็ทำการสั่งผลิตเลย เพื่อไม่ให้สินค้าขาดสต็อก เพราะจะต้องเผื่อระยะเวลาของขั้นตอนการผลิต จะได้มีสินค้าทันจำหน่าย ยิ่งสั่งผลิตจำนวนมากก็ยิ่งได้เรทราคาต่อชิ้นลดลง จะได้กำไรเพิ่มขึ้น 

การคิดเรทราคา เราจะต้องรู้ต้นทุนทั้งหมดก่อน จำนวนสินค้าทั้งหมดกี่ก้อน ให้คิดคำนวณราคาต่อก้อนก่อน เช่น สั่งผลิตล็อตแรกจำนวน 1000 ก้อน ค่าเนื้อสบู่ก้อนละ 12 บาท ค่ากล่อง 8 บาท/กล่อง แสดงว่า ต้นทุนสบู่ราคา 20 / ก้อน  หลังจากนั้นก็ตรวจสอบคุณสมบัติสบู่มีอะไรบ้าง เช่น ไม่มีคุณสมบัติอะไรพิเศษเป็นสบู่ผิวขาวเท่านั้น อาจตั้งราคาขายต่อก้อนได่ไม่มาก หรือการสร้างแบรนด์น้องใหม่คนยังไม่รู้จัก อาจใช้ระบบตัวแทนdealerที่ช่วยกระจายสินค้า ก็ต้องคำนึงส่วนค่าตัวแทนตรงนี้ด้วย ดังนั้นการตั้งเรทราคาปลีกนอกจากจะต้องดูเรื่องต้นทุนต่อก้อนแล้ว ยังต้องดูส่วนประกอบ คุณสมบัติของสบู่ ฯลฯ ซึ่งในขั้นตอนนี้สามารถทำการปรึกษาทีมงานโรงงานได้ เพราะจะมีผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยคำนวณในส่วนของรายละเอียดเรื่องต้นทุนและกำไรได้อย่างดี  

 

สบู่กลีเซอรีนคือสบู่ที่มีเบสกลีเซอรีนผสมอยู่ กลีเซอรีนคือ สารธรรมชาติที่เป็นของเหลว ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ผลิตได้จากน้ำมันธรรมชาติ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว นิยมนำไปประกอบในการผลิตยา ผลิตสบู่ เครื่องสำอาง ฯลฯ สำหรับสบู่กลีเซอรีนจะใช้เวลาในการผลิตนานกว่าสบู่ก้อนชนิดอื่น ประมาณ 34 สัปดาห์ เพราะต้องใช้เวลาในการปล่อยให้เซ็ตตัวเอง ไม่สามารถอัดความร้อนได้ 

 

จะทำแบรนด์ขายแข่งกับตลาด แบรนด์เราต้องแตกต่าง และ ต้องดีกว่า มีองค์ความรู้ ความคุ้มค่าที่ลูกค้าจะได้รับ สินค้าไอเดีย สินค้าที่อิงวัฒนธรรม-ความเชื่อ และเทรนด์ที่กำลังนิยม จะสามารถตีตลาดได้ในหลายๆประเทศ โดยจะต้องทำการศึกษาข้อมูลในแต่ละพื้นที่ว่าอะไรเป็นที่สนใจของในพื้นที่นั้นๆ เช่น ต้องการนำสินค้าส่งออกขายที่จีนก็ต้องหาอะไรที่จีนนิยม อย่างการนำเศษทองคำใส่ลงไปเป็นส่วนผสม เพราะชาวจีนมีความเชื่อในเรื่องของทอง การใช้สมุนไพรทำสบู่ เพราะกระแสนิยมรักษ์โลก เป็นต้น 

เรามีวิธีทำสบู่สมุนไพรในบ้านได้ด้วยตัวเอง่ายๆมาฝากค่ะ

การทำสบู่จากมะขาม

วิธีทำสบู่มะขาม นำเบสไปต้มโดยใช้ไฟอ่อน อย่าใช้แรงเพราะจะทำให้กลีเซอรีนติดขอบหม้อเป็นฟองและติดขอบภาชนะได้ คนช้าๆไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อกลีเซอรีนละลายดีแล้ว ใส่น้ำมะขามที่เตรียมไว้ลงไป คนให้เข้ากันช้าๆ เติมน้ำหอมหากต้องการกลิ่นเพิ่ม ใส่สารเพิ่มฟอง และสารกันเสีย คนให้ละลายเข้ากันดี แล้วเทใส่พิมพ์ตอนร้อนๆ อย่ารอให้เย็นเพราะสบู่จะแข็งตัวเสียก่อน ปล่อยทิ้งไว้ให้สบู่เซ็ตตัวในแม่พิมพ์ เมื่อเซ็ตตัวดีแล้วก็แกะออกจากพิมพ์  

 

การทําสบู่จากว่านหางจระเข้

ส่วนผสมและสิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ ว่านหางจระเข้ กลีเซอรีน วาสลีน หม้อสำหรับต้ม ไม้พายสำหรับคน แม่พิมพ์ วิธีทำสบู่ว่านหางจระเข้ นำกลีเซอรีนหั่นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่หม้อนำไปต้ม ระหว่างที่รอกลีเซอรีนละลาย ปลอกเปลือกว่านหางจระเข้และล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นๆ ก่อนนำไปปั่นให้ละเอียด เมื่อกลีเซอรีนละลายดีแล้ว ตักน้ำปั่นว่านหางจระเข้ใส่ลงในหม้อต้มกลีเซอรีน ค่อยๆตักลงไปและคนไปด้วยเพื่อให้เข้ากันได้เร็วขึ้น เมื่อทุกอย่างละลายและเข้ากันดีแล้ว ก็ยกหม้อต้มลงจากเตาหรือปิดไฟในกรณีใช้หม้อไฟฟ้า ทาวาสลีนที่ก้นแม่พิมพ์ให้ทั่ว แล้วตักหรือเทสบู่ลงแม่พิมพ์ ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อมั่นใจว่าสบู่เซ็ตตัวดีแล้ว ก็นำออกจากพิมพ์นำไปใช้ได้ปกติ

 

วิธีทําสบู่ขมิ้นน้ำผึ้ง  

ให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ กลีเซอรีนแบบใส ผงขมิ้นชัน น้ำผึ้ง น้ำเปล่า หัวน้ำหอมสำหรับทำสบู่

ส่วนขั้นตอนการทำก็ง่ายมาก เริ่มจากการนำกลีเซอรีนใส่น้ำตั้งไฟอ่อน คนกลีเซอรีนไปในทิศทางเดียวกัน ใส่ผงขมิ้น และน้ำผึ้งตามลงไป คนให้เข้ากันช้าๆเพื่อไม่ให้เกิดฟอง เมื่อเข้ากันดีแล้วก็ยกลงจากเตา เติมหัวน้ำหอมหลังจากที่คลายร้อนลงแล้ว อย่าเติมน้ำหอมตอนที่ยังร้อนจัด 

 

การทำสบู่ด้วยตัวเองใช้เองหรือแจกจ่ายเป็นอะไรที่ไม่หนักเกินไป แต่ถ้าต้องการทำขายก็สามารถทำได้ แต่อาจมีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณออเดอร์ และจำนวนยอดผลิตสินค้า ด้วยข้อจำกัดจากแรงงานคนและสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะบางครั้งความชื้นก็มีผลต่อการเซ็ตตัวและคุณภาพของสบู่บ้างเล็กน้อย 

เมื่อต้องการจะทำแบรนด์ อย่าทำตามกระแส แต่ให้ใช้ความรู้สึกที่รักหรือต้องการทำจริงๆ นำไปสู่การทำแบรนด์ออกมา เพราะทำอะไรด้วยความรัก จะมีแรงจูงใจและพยายามศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยความรักความต้องการทำจริงๆ จะทำให้ไม่เบื่อไม่ท้อเร็วเมื่อเจออุปสรรค เลือกผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าจะต้องใช้เสมอ ไม่ว่าเศรษฐกิจะดีขึ้นหรือแย่ลง แต่ผู้บริโภคก็ยังต้องการที่จะใช้ เพราะเป็นสินค้าที่ต้องใช้อยู่แล้ว และมีคุณภาพเป็นที่พอใจ ทำให้ลูกค้าก็ต้องการซื้อใช้อยู่เสมอ ถ้าทำเพราะกระแสตลาด อาจจะบูมเร็วจริงแต่ก็อาจดับเร็วได้เช่นกัน ต้องมีความอดทนสูงในการรอคอยผลตอบรับ และอดทนต่ออุปสรรคเพราะในการทำธุรกิจแรกๆ จะยังไม่มีการตอบรับ ต้องใช้ความรักและความอดทนรอ และไม่หยุดพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้สินค้าแบรนด์มีคุณภาพที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี ที่อาจมีกระแสแฟชั่นหรือนวัตกรรมใหม่ๆ สามารถตามได้ทันและผลิตออกมาได้ตามความต้องการของตลาดจริงๆ 

 

tt ads