
เมื่อเริ่มก้าวสู่วัยทอง หรือช่วงอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศลดลง โดยในผู้ชายระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลง และฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงลดลงเช่นกัน ส่งผลให้เกิดอาการวัยทอง คือ มีอาการร้อนวูบวาบ นอนหลับยาก เหงื่อออกในเวลากลางคืน อารมณ์แปรปรวน หลงลืมง่าย หน้ามืดหรือวูบบ่อยขึ้น
นอกจากนี้อาจมีภาวะโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคกระดูกพรุน หรือ โรคอ้วน ลงพุง ดังนั้น การรู้จักเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับช่วงวัย จะช่วยเสริมสร้างให้มีสุขภาพดี ลดปัญหาที่เกิดจากอาการวัยทอง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
อาหารอะไรบ้างดีต่อคนวัยทอง
ถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองมี “ไอโซฟลาโวน” เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีส่วนโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยลดอาการวูลวาบ อันเนื่องมาจากการภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงในวัยหมดประจำเดือน โดยสามารถเลือกทานถั่วเหลืองได้หลายรูปแบบ เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่งเหลืองอื่น ๆ
เมล็ดฟักทอง
เมล็ดฟักทองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้มีความสมดุล นอกจากนี้ เมล็ดฟักทองมีกรดไขมันดี ช่วยลดอาการแห้งตึงของผิว เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว บำรุงผิวพรรณ ‘
งาดำ
งาดำ คือ ธัญพืชที่มีไฟโตรเอสโตรเจนสูง อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด บำรุงผิวพรรณและเส้นผม บรรเทาอาการปวดข้อต่ออักเสบ และยังช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ดี
ข้าวสาลีและธัญพืช
ข้าวและธัญพืชไม่ขัดสี มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และยังอุดมไปด้วยไอโซฟลาโวน มีคุณสมบัติในการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงวัยทอง ช่วยปรับอารมณ์ให้คงที่ ไม่แปรปรวนง่าย
น้ำมะพร้าว
น้ำมะพร้าว มีเอสโตรเจนสูง ช่วยทดแทนการสูญเสียฮอร์โมนของวัยทองในเพศหญิงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ น้ำมะพร้าวช่วยบำรุงกระดูก ชะลอริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ ให้ผิวแลดูสดใส ไม่แห้งเหี่ยว
นมและโยเกิร์ตไขมันต่ำ
นม หรือ โยเกิร์ตไขมันต่ำ มีแคลเซียม ช่วยป้องกันมวลกระดูกบางจากภาวะฮอร์โมนเพศลดลง นอกจากนี้ โยเกิร์ตยังมีโพไบโอติก ช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์ดี ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ให้เป็นปกติ เพราะวัยทองหลายคนมักจะมีปัญหาระบบขับถ่าย ท้องผูก ถ่ายยาก
กล้วย
กล้วย มีสารทริปโตแฟน ที่เมื่อทานเข้าไปแล้วร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทนิน ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนที่ลดลงส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย มีความกังวล ทำให้มักจะนอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับ จนอาจนำพาไปสู่โรคซึมเศร้า แนะนำให้ทานกล้วยหอม หรือกล้วยน้ำว้าเป็นประจำ
ผักตระกูลกะหล่ำ
ผักตระกูลกะหล่ำ มีไฟโตเอสโตรเจนสูง ช่วยลดความไม่สบายตัวจากอาการวัยทองได้ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี
ผลไม้ที่อุดมไปด้วยเอสโตรเจน
ผลไม้ก็มีสารที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อะโวคาโด ส้ม แถมยังมีกากใยอาหารสูง ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้ดี
นอกจากนี้ การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเบา ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ หรืออาจเพิ่มด้วยอาหารเสริมที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้ได้รับสารอาหารทดแทนในส่วนที่สูญเสียไป ก็จะช่วยให้มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี พร้อมรับมือกับอาการวัยทองได้อย่างสบาย ๆ