tt ads

“Follow your passion” วลีเด็ดที่มีอิทธิพลต่อการผลักดันให้ใครได้ลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่รักมาแล้วมากมาย แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลย ที่ต้องการเดินไปจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เพราะหมด Passion  

Stressed Asian girl resting her head on a laptop

การหมด Passion คืออะไร 

ถ้าให้แปลตรงตัวเลย Passion แปลว่า ความหลงไหล ดังนั้น Passion ในการทำงาน จึงหมายถึง การมีความหลงไหล มีความรักและกระตืนรืนร้นในงานที่ทำ ในขณะที่การหมด Passion แปลว่า หมดความกระตือรือร้นในงานที่ทำ หรืองานมันน่าเบื่อจนไม่อยากทำอีกต่อไป 

 

การหมด Passion สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสิ่ง ทั้งการหมด Passion ในการทำงาน การเรียน ความรัก หรือหมด passion ในการใช้ชีวิต ซึ่งเคยมีคนกล่าวว่า การตามหา Passion นั้นยาก แต่การรักษา Passion ยากกว่า และจะยากมากยิ่งขึ้น หากเราต้องดูแลและรักษา Passion ให้กับคนอื่น โดยเฉพาะสำหรับผู้นำ หรือผู้ที่ต้องทำหน้าที่อย่าง HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ต้องคอยประคองในส่วนนี้ไว้ให้กับพนักงาน เพราะการหมด Passion ในการทำงาน ย่อมส่งผลกระทบต่อองค์กรอย่างแน่นอน 

Passion กับ Burnout แตกต่างกันยังไง 

การหมด Passion จะแตกต่างกับ Burnout ตรงที่ อาการของ Burnout คือ ความทุกข์ทรมานจากการเหนื่อยล้าทางจิตใจและอารมณ์ จนนำไปสู่การหมด Passion ได้ แต่ถ้าเริ่มจากที่ Passion หายไป ก็อาจไม่ได้ทำให้เกิดอาการ Burnout ตามมา แต่เป็นเพียงแค่ความชอบ ความตื่นเต้นกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามันหมด และไม่สนใจในสิ่งนั้นอีกต่อไป 

ทำไมพนักงานจึงหมด Passion 

สาเหตุการหมด Passion ในการทำงานมีได้หลากหลายและแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเพราะว่างานน่าเบื่อ แต่เป็นเพราะ ตัวบุคคล ต่างหาก ที่เป็นสาเหตุหลักทำให้พนักงานหมดความรู้สึกร่วมกับสิ่งที่ทำอยู่  

 

  1. นั่งทำงานไปวัน ๆ 

การที่สมองได้รับรู้เรื่องราวเดิม ๆ เจอกับสิ่งเดิม ๆ ซ้ำซาก จนกลายเป็นความน่าเบื่อ ที่เข้าสู่สภาวะ Auto pilot โดยคำนี้เป็นคำที่ใช้ในวงการนักบินอวกาศ ซึ่งเป็นการที่นักบินปล่อยให้ยานอวกาศเข้าสู่โหมดบินเองโดยอัตโนมัติ การนำมาเปรียบเทียบกับระบบการทำงาน หมายถึงการทำงานแบบไม่มีเป้าหมาย ไร้ passion เป็นการทำงานให้เสร็จ ๆ ไปเท่านั้น ในแต่ละวัน 

 

  1. รู้สึกว่าตนไร้คุณค่า 

ไม่ว่าจะเป็นงานประเภทใดก็ตาม หากผู้บริหาร หรือ เจ้าของกิจการ ไม่มีการส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกว่าตนมีคุณค่า หรือเสริมสร้างกำลังใจให้กับคนทำงาน ก็สามารถบั่นทอนจิตใจพนักงานให้หมดแพชชั่นในการสรรสร้างผลงาน ก็เหมือนกับที่คุณทำสิ่งดี ๆ ให้ใครสักคน แต่กลับไม่มี feedback หรือแม้แต่คำ ขอบคุณ กลับมา ถามว่า คุณจะยังอยากทำดีกับคนนั้นในครั้งต่อไปอีกไหม 

 

  1. ไม่มีการเติบโตของสายงาน 

การเติบโตในหน้าที่การงาน เป็นสิ่งจำเป็นมากในการรักษา Passion ของพนักงาน เพราะสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้แพชชั่นของคนทำงานหมดไป จนต้องลาออกหรือไปหางานใหม่ คือ การที่รู้ว่าตนเองไม่มีโอกาสได้เติบโตในสายงานของตนแน่ ๆ หากยังคงอยู่ต่อไป จึงหมดกำลังใจและไม่มีแรงผลักดันที่จะพัฒนาตนให้กับสิ่งที่ทำไปก็เสียเวลา ดังนั้น การเติบโตในหน้าที่การงาน การได้รับเลื่อนตำแหน่งหรือเงินเดือน จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ความภูมิใจ แต่มันเป็นสิ่งกระตุ้นชั้นดีที่จะช่วยให้พนักงานเกิดแรงปรารถนาพัฒนาตัวเอง 

 

  1. ได้รับค่าจ้างต่ำเกินไป 

ค่าจ้างในที่นี้ไม่ได้หมายถึง จำนวนเงินที่ได้รับ แต่หมายถึง ค่าจ้างที่ได้รับต่ำกว่าความพยายามของพนักงานคนนั้น ความทุ่มเท ความคอยพัฒนาตนเอง ความให้การใส่ใจ แต่ผลตอบแทนที่ได้ ไม่เพียงแต่เฉพาะเม็ดเงินที่ได้ต่ำกว่าความเหนื่อยยากจนไม่มีความคุ้มค่าแล้ว แต่ยังเป็นการตอกย้ำให้พนักงานรู้สึกถึงการไม่มีคุณค่าในตนเอง จนรู้สึกได้ว่าตนนั้นไม่มีค่าพอต่อองค์กร จนทำให้รู้สึก Burnout และหมด Passrion ในการทำงานต่อไป 

 

  1. หมดพลังงานในการทำงาน 

จุดเริ่มต้นของ Burnout เพราะจากทุกข้อที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ สะสมจนกลายเป็นความทุกข์ทรมานทางความรู้สึกและจิตใจ ทำให้พลังงานในการทำงานลดลง และหมด Passion ที่จะอยู่ต่อ เพราะสมองเริ่มต่อต้าน ในขณะที่สภาพจิตใจก็ไร้สิ่งเยียวยา  

สังเกตได้อย่างไรว่าพนักงานหมด Passion 

  1. คิดอะไรใหม่ ๆ ไม่ออก เพราะสมองไม่ผ่อนคลาย อัดแน่นไปด้วยความรู้สึกต่อต้าน หมดกำลังใจ ไม่เห็นโอกาสที่ดี ในขณะที่มีแต่อุปสรรคและการบีบคั้น ทำให้ไม่มีกำลังใจที่จะคิดอะไรใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ 

 

  1. ทำงานสักแต่ให้เสร็จ พนักงานที่หมด Passion จะทำใส่ใจในการทำงานน้อยลง ความทุ่มเทที่เคยมีให้ก็น้อยลง ความคิดสร้างสรรค์ผลงานน้อยลง และไม่ใส่ใจหรือรู้สึกเดือดร้อน หากจะมีใครทำงานได้ดีกว่า แค่สักแต่ทำงานของตนให้เสร็จ ๆ ไปเท่านั้น 

 

  1. เหน็ดเหนื่อย หมดพลัง มีความเครียด คนที่หมด Passion จะหมดความรู้สึกสนุก ความตื่นเต้น ความต้องการสำเร็จในปลายทาง เพราะเบื่อหน่ายกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า หมดพลัง รู้สึกเหนื่อยหน่าย จนกลายเป็นความเครียด 

 

หมด Passion ในการทำงาน ทำไงดี 

  1. ไม่ต้องตามหา Passion แค่หาคุณค่าในตนเองก็พอ 
  2. Passion ไม่จำเป็นต้องมีกับงานประจำ แต่ passion ที่ดีอาจอยู่ที่งานอดิเรกก็ได้ 
  3. ลองเปลี่ยนไปทำอะไรใหม่ ๆ อาจพบ Passion ที่ทำให้ภูมิใจในคุณค่าของตนเอง 
  4. หากหมด Passion จากการ Burnout อย่าทนจนหมดพลังในการหาแพชชั่นใหม่ ๆ 
  5. พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจให้มากพอ ชาร์จพลังให้เต็มที่ เพื่อจะได้พร้อมในการหา Passion ใหม่ ๆ 

เป้าหมาย คือ สิ่งที่ทำให้เรามุ่งตรงไปยังจุดหมาย โดยมี Passion ในการทำงาน เป็นแรงผลักดัน ส่งเสริมให้ผลงานออกมาดี และถึงปลายทางได้อย่างประสบความสำเร็จ องค์กรที่ประสบความสำเร็จ มักจะให้ความสำคัญในการสร้าง feedback แก่พนักงาน เพราะความสำเร็จของพนักงาน คือ ความสำเร็จขององค์กรเช่นกัน 

tt ads