tt ads

ขยะที่เกิดจากอาหารทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันเรามีการผลิตขยะอาหาร 30% ของอาหารทั้งหมด ซึ่งคนในยุโรปและอเมริการเหนือ เพียง 1 คน สามารถสร้างขยะอาหารเฉลี่ย 95 115 กิโลกรัม / ปี ส่วนชาวเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1 คน สามารถสร้างขยะอาหารเฉลี่ย 611 กิโลกรัม / ปี  และถ้ามองย้อนกลับมาที่ประเทศไทยก็มีขยะจากอาหารถึง 64% หรือ 17 ล้านตัน / ปี มีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 8% หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) 3,300 ล้านตัน / ปี ที่สามารถคงอยู่ในชั้นบรรยากาศได้ยาวนานกว่า 100 ปี และ ก๊าซมีเทน (methane) ที่มีคุณสมบัติทำให้โลกร้อนขึ้นมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่าตัว!

มีเทน ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติคิดเป็น 30 % ไม่ว่าจะเป็นการระเบิดจากภูเขาไฟ ไฟป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ มหาสมุทร ใต้ธารน้ำแข็ง แต่… 60% เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งจากการเผาเชื้อเพลิง อุตสาหกรรม การเกษตรและปศุสัตว์ การเผากำจัดขยะ หรือแม้แต่การย่อยสลายของกองภูเขาเศษอาหารเหลือทิ้งจากมนุษย์

ส่วนใหญ่เมื่ออาหารถูกทิ้งจากครัวเรือนหรือร้านอาหารต่างๆ จะถูกนำไปลงหลุมฝังกลบในดินเพื่อรอวันย่อยสลาย แต่ทว่ากระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนเป็นจำนวนมาก และเมื่อก๊าซเหล่านี้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ จะส่งผลให้อุณภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกไม่ตรงฤดูกาล ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และย้อนกลับมาส่งผลต่อทุกชีวิตในโลก

ได้มีการทำแบบสำรวจและวิจัย จากข้อมูลพบว่า ในปี 2533 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบอาหารทั่วโลกลดน้อยลงจาก 44% เหลือ 34% หรือประมาณ 18 พันล้านตันในปี 2558 และประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศอุตสาหกรรมมีปริมาณการปล่อยก๊าซทรงตัวที่ 24% ส่วนประเทศกำลังพัฒนามีการปล่อยก๊าซในปริมาณลดลงในปี 2558 คิดเป็น 39% จาก 68% ในปี 2533 ส่วนประเทศที่มีการปล่อยก๊าซจากระบบอาหารมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป บราซิล จีน อินโดนีเซีย และ อินเดีย 

ดังนั้นการกินอาหารแต่พอดีและกินให้หมด เพื่อไม่ให้เกิดขยะจากอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าการเลิกใช้พลาสติก แต่ถ้าไม่สามารถทานอาหารได้หมดจริงๆในแต่ละมื้อ การหาวิธีที่จะนำเศษอาหารที่เหลือเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ย่อมดีกว่าเพียงแค่ทิ้งลงเพื่อรอเวลาให้มันย่อยสลายเองตามธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม  

แน่นอนว่ามีหลายภาคส่วนที่ให้ความสนใจสำหรับการกำจัดกับขยะเศษอาหารที่เป็นปัญหาใหญ่ในหลายๆประเทศ และการที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ดีที่สุดคือการนําเศษอาหารมาทําปุ๋ย

ปุ๋ยจากเศษผักนับว่าเป็นอาหารชั้นยอดสำหรับการปรุงดิน เพราะการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารจะได้คุณค่า NPK ตามมาตรฐาน ได้อย่างครบถ้วน เพราะเมื่อดินมีสารอาหารตามที่พืชต้องการ หรือจะใส่ให้พืชผลโดยตรงเลย ก็จะเจริญเติบโตรวดเร็วและได้ผลผลิตดี ที่สำคัญคือเป็นปุ๋ยออแกนิค ไร้สารเคมี พืชผักที่ได้ก็ปลอดสารพิษ และเมื่อเราทานผักออแกนิค สุขภาพก็ย่อมดีกว่าการทานผักจากปุ๋ยเคมีและมีสารพิษเจือปน

ในทางภาคการเกษตรได้มีการจัดทำถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร ทําปุ๋ยหมักจากเศษผัก ส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในรูปแบบการดัดแปลงจากอุปกรณ์ที่มี หรือเป็นแบบประยุกต์ ดี ไอ วาย ทั้งการทำน้ำหมักปุ๋ยเศษอาหารชีวภาพ ทำปุ๋ยหมักจากเศษผักในเข่ง ทําปุ๋ยจากเศษอาหารแบบล้อมรั้ว ทําปุ๋ยหมักเศษอาหารในกระสอบ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับไม่น้อยสำหรับผู้ที่มีพื้นที่ในการหมักเศษอาหารทําปุ๋ย แต่นั่นก็ต้องมีพื้นที่ในการจัดวางอุปรกรณ์ หรืออาจต้องมีการขุดหลุม เช่น พื้นที่ทำการเกษตร หรือบ้านที่มีสวน และต้องมีพื้นที่ห่างไกลจากตัวบ้านที่อยู่อาศัย เพื่อหลีกเลี่ยงกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จากกรรมวิธีการหมัก 

แน่นอนว่าในหลายๆวิธีที่กล่าวมาจะต้องมีพื้นที่ในการจัดทำ ทำให้มีข้อจำกัดของเรื่องพื้นที่ กลิ่นที่อาจส่งรบกวนเพื่อน รวมถึงเวลาในการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการพลิกกอง กลับกองเพื่อให้ออกซิเจนเข้าทั่วถึงในการย่อยสลาย ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงไม่สามารถตอบโจทย์กับผู้อยู่อาศัยในแหล่งชุมชน เช่น หมู่บ้านจัดสรร ทาวเฮ้าส์ ทาวน์โฮม บ้านแฝด ห้องชุดคอนโด 

หากติดตามข่าวสารจะเห็นได้ว่าหลายๆประเทศที่ประสบปัญหาขยะเศษอาหาร ได้มีการคิดค้นและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแปรรูปเศษอาหารทําปุ๋ยหมักอัตโนมัติเพื่อให้สะดวกกับวิถีชุมชนคนเมืองมากขึ้น เพิ่มความสะดวกในการจัดวางโดยไม่ต้องมีพื้นที่มาก ไร้กลิ่นรบกวน และไม่มีเหล่ามด หนูแมลงสาบมารบกวนเพราะเศษอาหารอีกต่อไป ตอบโจทย์หลายช่องทาง ทั้งไร้แมลง ไร้กลิ่น ได้ปุ๋ยคุณภาพ ลดพลังงาน และลดภาวะโลกร้อน เรียกได้ว่าการทําปุ๋ยจากเศษอาหารในครัวเรือน

ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับระบบชีวิตได้ทั้งโลก 

เปลี่ยนขยะเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยจากที่บ้านดีอย่างไร

ขยะเศษอาหารล้วนเป็นขยะสด ที่ต่อให้มีการแยกใส่ถุงขยะไว้ต่างหาก ก็ยังส่งกลิ่นเหม็นภายในบ้าน เรียกมดแมลงไม่รับเชิญมาเดินเพ่นพ่านให้น่ารำคาญใจ และเมื่อนำถุงขยะทิ้งในถังขยะรวมเพื่อรอรถถังขยะมารับไปกำจัด เมื่อขยะจากหลายๆบ้านมารวมกัน ก็ยิ่งเพิ่มทวีส่งกลิ่นรบกวนไปทั่ว หมาแมวจรก็มาคุ้ยขยะเพื่อหาเศษอาหารกิน ทัศนียภาพไม่สวยงาม และยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคกระจายสู่ชุมชน ดังนั้นการกำจัดต้นตอสิ่งเหล่านี้เริ่มได้จากที่บ้าน และทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก และไม่เปลืองพื้นที่ ด้วยนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่าเครื่องกำจัดเศษอาหาร

โดยเครื่องเทคโนโลยีที่ว่านี้ก็อำนวยความสะดวกกับชีวิตคนยุคปัจจุบันมากๆ เพราะทำง่ายแสนง่าย เพียงแค่ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ให้มาพร้อมเครื่อง เติมลงไปในครั้งแรกเท่านั้น และเมื่อมีเศษอาหารต่างๆ ก็แยกส่วนที่เป็นน้ำและของแข็ง เช่น เปลือกหอย กระดูกสัตว์ กระดองปู ออกจากเศษอาหารที่เป็นกากเนื้ออื่นๆ แล้วเทขยะสดเหล่านั้นใส่ลงไปในเครื่อง กดปุ่มให้เครื่องทำงาน เครื่องจะทำงานตามขั้นตอนอัตโนมัติ เพียงภายใน 24 ชั่วโมง (ซึ่งการย่อยสลายของเศษอาหารตามธรรมชาติมักจะใช้เวลาประมาณ 5วัน – 6เดือน ขึ้นอยู่กับชนิดอาหาร) ก็จะได้ปุ๋ยหมักเศษอาหารในบ้านเราเองไว้ใช้งานต่อได้อย่างสบายๆ สะดวก ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องคอยพลิกกอง ไม่ต้องคอยหมุนเครื่อง เราสามารถไปทำกิจกรรมอื่นได้ตามปกติ การนำเศษผักทําปุ๋ยก็จะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป 

เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่ทุกบ้านสมควรมี ยิ่งบ้านไหนที่ต้องทำอาหารประจำอยู่แล้ว ร้านอาหาร ภัตตาคาร ยิ่งควรมีเครื่องย่อยสลายเศษอาหารทำปุ๋ยนี้ไว้ทุกแห่ง เพราะมีขยะสดขยะเศษอาหารทําปุ๋ยได้ทุกวัน หากไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ปุ๋ยไว้เอง ก็ยังสามารถนำไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านที่ต้องการปุ๋ยอินทรีย์ เป็นการผูกสัมพันธไมตรี ไม่แน่ว่าคุณก็จะได้พืชผลผักสดอินทรีย์จากปุ๋ยที่บ้านคุณเองกลับมาจากเพื่อนบ้านเช่นกัน และสำหรับร้านอาหารหากไม่นำแจกจ่าย ก็สามารถนำไปจำหน่ายในราคาถูกให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่ต้องการได้อีก เป็นการนำรายได้เข้าร้านได้อีกทางดีกว่ากำจัดทิ้งเสียเปล่า แถมคนซื้อก็ได้ปุ๋ยคุณภาพดีที่มีธาตุอาหารครบถ้วนและราคาถูกด้วย 

ข้อดีของการนำขยะเศษอาหารทำปุ๋ยหมัก 

  • ช่วยลดปริมาณขยะที่กำลังเป็นปัญหาระดับโลกในตอนนี้ 
  • ช่วยลดโลกร้อน เพราะลดปริมาณก๊าซมีเทนที่เป็นสภาวะเรือนกระจก
  • ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนมาขนขยะไปทิ้ง 
  • งบประมาณการกำจัดขยะของประเทศลดลง ทำให้เหลืองบประมาณไปใช้พัฒนาในด้านอื่นๆ
  • ไม่ต้องซื้อปุ๋ยหมัก แต่จะมีปุ๋ยสำหรับใส่พืชและต้นไม้ฟรี 
  • สามารถสร้างรายได้จากปุ๋ยหมัก 
  • ช่วยส่งเสริมระบบ Zero Waste 

เครื่องย่อยสลายเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยแบบนี้นอกจากสะดวกแล้ว ยังมีขนาดให้เลือกเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและสถานที่ อย่างถ้าเป็นบ้านคนอยู่อาศัยแบบครอบครัวไม่ใหญ่ อาจเลือกใช้เครื่องสำหรับครัวเรือนขนาด 2 ลิตรก็เพียงพอ แต่ถ้าเป็นครอบครัวใหญ่ ร้านเชิงพาณิชย์ ร้านอาหาร หรือสำนักงาน ก็สามารถเลือกขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้มีความจุที่เพียงพอต่อปริมาณขยะ เป็นการเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้คืนกลับไปเป็นปุ๋ย และบำรุงดินบำรุงพืชผักให้เราได้ทาน หมุนเวียนการใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี เรียกได้ว่าเป็นการสร้างสุขภาพดี ชีวิตดี สิ่งแวดล้อมดี และรักษ์โลกเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสอย่างแท้จริง

tt ads

Post not found !